นึกถึงนิวซีแลนด์ นึกถึง เอ็นแซด สตั๊ดดี้
NZ Information
ประวัตินิวซีแลนด์
กว่าจะมาเป็นนิวซีแลนด์
เชื่อกันว่าชาวเมารี (Maori) ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์กว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นชนเชื้อสายโพลีนีเชียนที่อพยพมาจากทวีปเอเชีย แม้จากบทเพลงที่ร้องสืบทอดกันมาจะกล่าวถึงการอพยพครั้งยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 14 แต่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ค้นพบวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี
ในปีค.ศ. 1642 (พ.ศ. 2185) นักสำรวจชาวดัตช์ชื่อ อาเบล ทาสมาน (Abel Van Tasman) แล่นเรือสำรวจรอบทวีปออสเตรเลีย และได้แวะนิวซีแลนด์ แต่ต้องพบกับชาวเมารีที่ดุและไม่เป็นมิตร ซึ่งได้สังหารลูกเรือของทาสมานไปหลายคนทำให้ดินแดนส่วนนี้ได้รับการจารึกการค้นพบ แต่ไม่ได้รับการสนใจจากนักสำรวจอื่นๆ จนกระทั่งในปีค.ศ. 1769 (พ.ศ. 2312) กัปตันเจมส์ คุก (James Cook) ชาวอังกฤษ ได้มาจอดเรือที่นิวซีแลนด์พร้อมด้วยหัวหน้าเรือชาวตาฮิติที่พอจะส่งภาษากับชาวเมารีรู้เรื่อง ทำให้คณะของกัปตันคุกได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง กัปตันคุกพบว่าชาวเมารีเป็นชนพื้นเมืองที่มีจิตใจเป็นนักรบและกล้าหาญ การเข้าถือครองดินแดนเช่นเดียวกับชนผิวขาวทำกับชาวพื้นเมืองในที่อื่นๆ นั้นมิอาจทำได้โดยง่าย ดินแดนริมฝั่งทะเลที่ชาวเมารีเคยถือครองจึงถูกซื้อโดยแลกเปลี่ยนกับอาวุธ สิ่งของเครื่องใช้จากยุโรป
เมื่อชาวเมารีมีอาวุธที่ทันสมัยในครอบครอง ด้วยความเป็น “นักรบ” โดยชาติพันธุ์ ทำให้เมารีต่างเผ่าหันมาทำสงครามกันเองอย่างต่อเนื่องจนประชากรเมารีน้อยลงอย่างน่าใจหาย มิหนำซ้ำเชื้อโรคจากตะวันตกที่เมารีไม่เคยพบ โดยเฉพาะหวัดและกามโรค ยังคร่าชีวิตเมารีทั้งชายและหญิงไปเป็นจำนวนมาก
หลังจากปักธงแห่งจักรพบอังกฤษ ณ ดินแดนแห่งนี้แล้ว ในปีค.ศ. 1840 (พ.ศ. 2383) อังกฤษได้ส่งกัปตันวิลเลียม ฮอบสัน (William Hobson) เข้ามาดูแลนิวซีแลนด์ กัปตันฮอบสันได้เจรจาเกลี้ยกล่อมให้หัวหน้าเผ่าเมารี 45 คนมาทำสัญญาสงบศึกทันทีที่ไวตังกิ (Waitangi) ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นวันชาติของนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน
สนธิสัญญาไวตังกินี้นอกจากจะเป็นการสงบศึกระหว่างเมารีต่างเผ่าแล้ว ยังเป็นการพยายามขจัดข้อขัดแย้งระหว่างเมารีกับคนขาวที่เกิดขึ้นอีกด้วย ซึ่งความขัดแย้งนี้ยังคงมีอยู่จนปีค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408) และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเมารีซึ่งมีกำลังคนและกำลังอาวุธน้อยกว่า
นิวซีแลนด์ยุคใหม่
ชาวยุโรปที่อพยพเข้าสู่นิวซีแลนด์ ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ล้วนเป็นผู้คนที่รักสงบ และด้วยสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทำให้อาชีพหลักของคนผิวขาวที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ คือ เกษตรกรรม แม้จะมียุคตื่นทองเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ ในปีค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) แต่จำนวนทองที่มีไม่มากพอ ทำให้ผู้คนไม่หลงใหลเข้ามานิวซีแลนด์มากจนเกินไป จนกระทั่งการประดิษฐ์ตู้แช่เย็นในปีค.ศ. 1882 (พ.ศ. 2425) ทำให้ส่งเนื้อสัตว์ไปสู่ยุโรปได้ สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรชาวนิวซีแลนด์ในเวลาต่อมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนั้นชีวิตใหม่ทางซีกโลกภาคใต้ยังล้ำหน้าไปกว่าชีวิตในยุโรป เพราะในปีค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436) ผู้หญิงได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเร็วกว่าอังกฤษประเทศแม่ และสหรัฐอเมริกาถึง 25 ปี รวมทั้งสวัสดิการสังคมต่างๆ ก็ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างพรั่งพร้อม
ขณะที่ชีวิตของชนผิวขาวเริ่มเข้าที่เข้าทาง ชนพื้นเมืองเมารีดั้งเดิมก็ได้รับการยอมรับนับถือเฉกเช่นเป็นผู้คนที่ทัดเทียมกัน ชาวเมารีได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) แต่ประชากรเมารีในขณะนั้นลดน้อยลงเหลือเพียง 42,000 คนเท่านั้น จนถึงศตวรรษนี้ความขัดแย้งระหว่างเมารีกับเมารีด้วยกันค่อยๆ จางหาย ขณะเดียวกันการแต่งงานระหว่างคนขาวกับเมารีก็เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับประชากรเมารีที่เพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนกว่า 400,000 คนในปัจจุบัน
ทุกวันนี้นิวซีแลนด์มีสถานะเป็นประเทศเอกราชแต่ยังคงอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ มีองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งอังกฤษเป็นประมุข ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ
นิวซีแลนด์เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ส่งออกเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม เนย และพืชพันธุ์ธัญญาหารออกสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และเอเชีย นิวซีแลนด์มีบทบาทและจุดยืนที่มั่นคงในการรักษาสภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ และแม้จะเป็นประเทศเล็กๆ แต่นิวซีแลนด์ก็ยืนยันอย่างเหนียวแน่นในการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์และการทดลองนิวเคลียร์ในแปซิฟิกตอนใต้ของประเทศมหาอำนาจ ทั้งโดยรัฐและองค์กรเอกชน
ภูมิศาสตร์ของนิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ที่เส้นละติจูด 34-47 องศาใต้ มีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ประมาณ 1,600 กิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่รวมโดยประมาณ 268,021 ตารางกิโลเมตร ดินแดนที่ใกล้ที่สุดคือ ทวีปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ประกอบไปด้วย 2 เกาะใหญ่ คือเกาะเหนือ (North Island) และเกาะใต้ (South Island) และยังมีเกาะปลายล่างสุด ชื่อเกาะสจ๊วร์ต (Stewart Island) ซึ่งยังไม่นับรวมเกาะเล็กๆ อีกมากมาย นิวซีแลนด์ แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม มีประชากรประมาณ 3.9 ล้านคน
พื้นที่ส่วนใหญ่ในนิวซีแลนด์เป็นเทือกเขาสูงและเนินเขา เกาะใต้มีเทือกเขาสูงเรียกว่า เซาว์เทิร์นแอลป์พาด ผ่านกลาง มีฟยอร์ด (Fjord) ธารน้ำแข็ง และทะเลสาปในใจกลางเกาะ มีน้ำพุร้อนและบ่อโคลนเดือด ภูเขาสูงสุดคือ เมาท์คุก (3,754 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล) ซึ่งอยู่ในเกาะใต้
ฤดูกาลของนิวซีแลนด์
ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล ได้แก่
ฤดูร้อน ธันวาคม – กุมภาพันธ์
ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม – พฤษภาคม
ฤดูหนาว มิถุนายน – สิงหาคม
ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน – พฤศจิกายน
เนื่องจากนิวซีแลนด์ตั้งอยู่ในโซนอากาศอบอุ่น ทำให้มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวไม่หนาวจัดมาก มีฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมประจำที่พัดผ่าน คือลมฝ่ายตะวันตก และ กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก ทำให้มีสภาพอากาศแตกต่างกันดังนี้
เกาะเหนือมีอากาศอบอุ่นชื้นทั่วเกาะ
เกาะใต้ชายฝั่งตะวันตกฝนชุกกว่าชายฝั่งตะวันออก
เกาะใต้ช่วงฤดูใบไม้ร่วงย่างเข้าสู่ฤดูหนาวจะมีหิมะปกคลุมอยู่ทั่ว และมีมากที่ Mt.Cook
เวลา
ในแต่ละปี จะมีการประกาศวันที่เปลี่ยนเวลาที่เรียกว่า Daylight Saving Time
เวลาของประเทศนิวซีแลนด์ปัจจุบัน เร็วกว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง
ตั้งแต่ 24 กันยายน 2560 ถึง 1 เมษายน 2561 เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง
สกุลเงิน
ในนิวซีแลนด์ ใช้สกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ NZD
โดย 1 ดอลลาร์ คิดเป็นนประมาณ 22-25 บาทไทย
ธนบัตรที่ใช้ในนิวซีแลนด์ มีราคา 5, 10, 20, 50 และ 100 ดอลลาร์ ตามลำดับ
เงินเหรียญที่ใช้ในนิวซีแลนด์ มีราคา 10 c, 20 c, 50 c, 1$ และ 2$ ตามลำดับ
(ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/New_Zealand_dollar )
เช็กอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ ดังนี้
1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
2. ธนาคารกรุงเทพ
3. ธนาคารกรุงไทย
4. ธนาคารกสิกรไทย
5. ธนาคารทหารไทย
6. ธนาคารไทยพาณิชย์
7. ธนาคารธนชาต
ระบบการเมือง
นิวซีแลนด์มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และมีGovernment General เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในนิวซีแลนด์
รัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์เป็นกฎหมายที่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คือไม่มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่บัญญัติถึงระบบการเมืองการปกครองแต่จะมีกฎหมายอื่นๆหลายฉบับมาประกอบกันเช่น Constitution ACT 1986 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ได้รวบรวมเอาหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่มาบัญญัติไว้ด้วพระราชบัญญัติเลือกตั้ง เป็นต้น แต่พระราชบัญญัติเหล่านี้ไม่มีบทบัญญัติ
ปัจจุบันการปกครองของรัฐบาลนิวซีแลนด์ปกครองภายใต้ระบบรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ระบบเวสต์มินสเตอร์) ซึ่งเป็นระบบที่ให้อำนาจตุลาการส่วนหนึ่งของฝ่ายตุลาการแก่ฝ่ายปกครอง และใช้ระบบ MMP (Mixed Member Proportion) ซึ่งเป็นระบบที่ให้สิทธิผู้เข้าเลือกตั้งเลือกพรรคและผู้นำของแต่ละพรรคในการเลือกตั้งรัฐบาล ซึ่งในอดีตเคยมีการใช้ระบบที่เรียกว่า FPP (First Past-the-Post) หรือระบบที่ผู้มาใช้สิทธิมีเพียง1เสียงในการเลือกตั้งรัฐบาลแต่ละครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับระบบปัจจุบันในประเทศไทย ระบบนี้ใช้จนถึงปีพ.ศ. 2537 และมีที่นั่งในรัฐสภาจำนวน 120 ที่นั่ง (+1 ประธานสภา) ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศนิวซีแลนด์คือ John Key ผู้นำพรรค National
* ข้อมูลจาก wikipedia
วัฒนธรรมและสังคม
นิวซีแลนด์มีวัฒนธรรม 2 แบบ คือ วัฒนธรรมคนผิวขาว ซึ่งคล้ายคลึงกับคนยุโรปและอเมริกัน และวัฒนธรรมเผ่าเมารี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเป็นวัฒนธรรมที่มีความเคร่งครัดในเรื่องขนบธรรมเนียมพิธีรีตอง
ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ และช่วยเหลือผู้เดินทางจากต่างประเทศ นอกจากนั้น เป็นคนที่ถือเรื่องการรักษาการนัดหมายอย่างเคร่งครัด
การให้ทิปเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นนักในประเทศนิวซีแลนด์ บางครั้งบริกรจะปฏิเสธเงินค่าทิป
ในด้านวัฒนธรรมเผ่าเมารี มีข้อที่ควรรู้คือ
คนต่างชาติจะต้องไม่เข้าไปในสถานประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีการต่างๆ (Marae) โดยไม่ได้รับเชิญก่อนอย่างเป็นพิธีรีตอง
ในพิธีต่างๆ ของเผ่าเมารี ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะนั่งแยกต่างหากจากกัน
ห้ามไม่ให้รับประหารอาหารใน Marae
ชนเผ่าเมารีมีวิธีการต้อนรับ โดยการใช้จมูกและหน้าผากจรดกัน เรียกว่า Hongi
คำภาษาเมารีที่ควรรู้ ได้แก่
haere-mai ฮาเอเร-มาอิ แปลว่า สวัสดี
haere-re ฮาเอเร-รา แปลว่า ลาก่อน
kia-ora เคีย-โอรา แปลว่า โชคดี หรือ ใช้อวยพรก่อนลาจากกัน
haka ฮากา แปลว่า การเต้นรำก่อนทำศึก
Ao tearoa เอา เทอะรัว แปลว่า ดินแดนแห่งแนวเมฆขาว เป็นชื่อที่ชาวเมารีใช้เรียก นิวซีแลนด์
* ข้อมูลโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
กีฬา
รักบี้ และเนตบอล เป็นกีฬาที่นิยมของชาวนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ยังมีกีฬากลางแจ้ง และกีฬาอื่นๆ ด้วย
รักบี้ คือสายเลือดของลูกผู้ชายนิวซีแลนด์
รักบี้ เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดโดยทีมชาติที่ใช้ชื่อว่า All Blacks เป็นจุดศูนย์กลางความนิยมและคลั่งไคล้ ลักษณะเฉพาะของ All Blacks นอกจากจะใส่ชุดดำสนิทแล้ว ยังมีการเต้นรำ ข่มขวัญคู่ต่อสู้แบบชาวเมารีที่เรียกว่า Haka ซึ่งทั้งทีมจะยืนเรียงเป็นรูปครึ่งวงกลมกลางสนาม หันหน้าเข้าหาฝ่ายตรงข้าม ทำอาการขึงขังพร้อมส่งเสียงเป็นทำนองหนักแน่น ซึ่งทุกครั้งที่แข่งขันกับต่างชาติ All Blacks จะทำพิธีนี้ก่อนที่นกหวีดจะเป่าให้เริ่มเล่น ความชื่นชมในกีฬารักบี้และความเชื่อมั่นในทีม All Blacks ของชาวนิวซีแลนด์นั้น จะพบได้จากหนังสือ, โปสเตอร์, โทรทัศน์ ฯลฯ ทั่วนิวซีแลนด์ ที่บอกว่า
“All Blacks” คือความภูมิใจ
เนตบอล
กีฬาเนตบอล เริ่มเล่นในประเทศอังกฤษ ณ Madame Ostenbury’s College และ มีจำนวนผู้เล่นกีฬาเนตบอลมากขึ้นเรื่อยๆ และได้มีการเริ่มเล่นในประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ 20 แต่ไม่มีมาตรฐานของกฎ กติกาการเล่นที่แน่นอน
ในปี ค.ศ. 1957 ระหว่างที่ชาวออสเตรเลียได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศอังกฤษ ได้มีการอภิปรายถึงมาตรฐานของกฎ กติกาการเล่น และท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการจัดประชุมขึ้นโดยมีตัวแทนจากประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อาฟริกาใต้ และอินเดียตะวันตก ได้ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา ทำให้กีฬาเนตบอลมีกฎ กติกา อย่างเป็นทางการ และได้มีมติให้จัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกทุก ๆ 4 ปี
ต่อมาในปี ค.ศ.1970 สมาคมกีฬาเนตบอลประเทศออสเตรเลียได้มีการปรับปรุงเกมการเล่น กีฬาชนิดนี้อย่างเป็นทางการเพื่อ ให้ กีฬาเนตบอล มีการเล่นที่ทันสมัยมากขึ้น โดยเน้นที่ความเร็ว และ ความตื่นเต้นตลอดเกมการแข่งขัน
โดยกีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับผู้หญิงในประเทศนิวซีแลนด์
เมืองต่างๆ ในนิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์ถูกแบ่งออกเป็น 2 เกาะหลักๆ คือเกาะเหนือ และเกาะใต้
เกาะเหนือ (North Island)
Auckland
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์ มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไวเตมาตา และอ่าวมานูเกา เป็นศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรม ของประเทศ เนื่องจากเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นเมืองแห่งการเล่นเรือใบ มีแม่น้ำไวกาโต ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในนิวซีแลนด์ไหลผ่าน
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น Auckland’s Sky Tower, Mount Eden , Kelly Tarlton’s , Auckland Zoo, Auckland Museum , National Maritime Museum , Auckland Regional Botanical Garden, Victoria Park Market , Auckland Harbour Bridge
Official Auckland website: www.aucklandnz.com
Hamilton
เมืองที่สวยงาม มีแม่น้ำไวกาโต้อยู่รอบเมือง เป็นจุดที่ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวชอบมานั่งเล่น ชมความงามของแม่น้ำและเมืองนี้ ซึ่งแม่น้ำไวกาโต้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเมือง เนื่องจากเป็นแหล่งรวมย่านธุรกิจ สถานที่ราชการ โรงเรียน และ มหาวิทยาลัย
Napier
เมืองทางฝั่งตะวันออกของเกาะเหนือ เป็นเมืองที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากเมืองอื่นๆในนิวซีแลนด์ที่มีชื่อเสียงด้านความงดงามทางธรรมชาติ นาเปียร์มีชื่อเสียงในด้านความงามของสถาปัตยกรรมสไตล์อาร์ตเดโค (Art Deco) และ เมดิเตอร์เรเนียน นาเปียร์เป็นเมืองที่มีสถาปัตยกรรมแบบเดียวเป็นเอกลักษณ์ของเมืองและถือเป็นเมืองอาร์ตเดโคที่สวยที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง
Northland
เมืองทางตอนเหนือของ Auckland ขึ้นไประยะทางประมาณ 450 กิโลเมตร มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากนิยมไปยังบริเวณที่เหนือสุดของนิวซีแลนด์เพื่อชมความงามของธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง ลักษณะที่เด่นและแปลกตาของบริเวณนี้ คือ ต้นโพฮูตูกาวา (Pohutukawa) ที่มีดอกสีแดงสดสะพรั่งเต็มต้น ขึ้นอยู่เรียงรายตามชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีหาดทรายที่สวยงามและป่าคาอูรี (Kauri Forests) สำหรับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ
Rotorua
เมืองที่เรียกได้ว่า “เมืองแห่งสปาและการท่องเที่ยว” เนื่องจาก เมืองนี้อุดมไปด้วยแหล่งกำเนิดของน้ำพุร้อน ป่า ทุ่งหญ้าและทะเลสาบ อุดมสมบูรณ์ ด้วยปลาเทราต์ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองโบราณที่สั่งสมวัฒนธรรมของชาวเมารี ทำให้เมือง นี้เต็มไป ด้วยความสนุกสนาน สำหรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเมืองโรโตรัว ได้แก่ Te Whakarewarewa, Polynesian , Lake Rotorua, Rainbow Spring Farm, Ohinemutu, Waikite Valley Thermal Pool, Skyline Skyride, Whirinaki Forest Park
Official Rotorua website: www.rotoruanz.com
Taupo
เมืองเทาโปตั้งอยู่บนริมฝั่งทะเลสาบเตาโป ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์ เป็นเมืองผักพ่อนตากอากาศที่สำคัญเมืองหนึ่ง ชาวเตาโปบอกว่าที่นี่คือเมืองหลวงของการตกปลาเทร้าท์ของโลก โดยปลาเทร้าท์ที่นี่จะมีขนาดใหญ่อีกด้วย ในช่วงปลายเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการแข่งขันตกปลาเทร้าท์ โดยมีนักตกปลาจากทั่วโลกร่วมประลองฝีมือ
Tauranga
นอกจากจะเป็นศูนย์รวมการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่สำคัญ ยังเป็นศูนย์กลางของความสวยงามของอ่าว นอกจากจะได้พบกับท่าเรือที่มีเรือยอชต์จอดอยู่นับพันลำแล้ว ยังมีเรือสำหรับพานักท่องเที่ยวแล่นไปตามอ่าวเพื่อชมทัศนียภาพของเมืองนี้ด้วย
Waikato
ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยความเขียวขจีของป่าไม้ ทุ่งหญ้า ห่างจากเมือง Auckland ประมาณ 126 กิโลเมตร เป็นแหล่งที่ขึ้นชื่อเรื่องนม ซึ่งอุดมไปด้วยไขมันเนยสูง พร้อมที่จะถูกแปรรูปเป็นเนยแข็ง เนย และ นมผงอันเลื่องชื่อ เนื่องจากบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยหญ้าสำหรับเป็นอาหารของฝูงวัวนมต่างๆ รวมถึงแกะนับแสนตัวเช่นกัน
Wellington
เวลลิงตันเป็นเมืองหลวงของนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่บริเวณตอนปลายสุดของ เกาะเหนือ ซึ่งจะเป็นแหล่งที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลและเมืองนี้ได้รับสมญาว่าเป็น Windy city เวลลิงตันเป็นเมืองท่าที่เชื่อมระหว่าง เกาะเหนือ และเกาะใต้ ที่มีช่องแคบคุก (cook) คั่นกลาง ทำให้เกิดกระแสลมแรง เป็นแหล่งรวมสถานที่สำคัญ ผ่อนคลายกับบรรยากาศที่ไม่เร่งรีบ ตั้งอยู่บนอ่าวของทางตอนใต้สุดของเกาะเหนือ มีความสำคัญในด้านการปกครอง และเป็นจุดเชื่อมระหว่างเกาะเหนือและเกาะใต้
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น Wellington Zoo,Te Papa, National Art Gallery, National Library, National Opera, Wellington Botanic Gardens, National War Memorial
Official Wellington website: www.wellingtonnz.com
เกาะใต้ (South Island)
Christchurch
เมืองที่เก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดทางเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ เป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษอย่างแท้จริง มีสวนดอกไม้สวยงาม มีแม่น้ำเอวอนไหลผ่านกลางเมืองและประกอบด้วยสถาปัตยกรรมในรูปแบบของอังกฤษยุคบุกเบิก ไคร้สท์เชิร์ชถูกขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งสวนดอกไม้ตระการตา (Garden City)
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเมืองไคร้สท์เชิร์ชอาทิเช่น Cathedral Square Church of England, Botanic Gardens and Hagley Park, Canterbury Museum, Willowbank Wildlife Reserve, Southern Encounter Aquarium and Kiwi House, The Roman Catholic Basilica, Christchurch City Art Gallery
Official Christchurch website: www.christchurchnz.com
Dunedin
หรือสก๊อตแลนด์แห่งนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในเขต Otago เป็นที่ตั้ง ของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ University of Otago ปัจจุบันเป็นจุดศูนย์กลางนักท่องเที่ยวทัวร์ธรรมชาติ (Eco-tour) เช่น ทัวร์ดูนกเพนกวิน, ทัวร์ดูแมวน้ำ, และการเดินป่าแบบธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเมืองดะเนดินอาทิเช่น Taieri Gorge Railway, Royal Albatross Centre, New Zealand Marine Studies Centre and Westpac Aquarium, Dunedin’s Botanic Gardens, Otago Museum and Discovery World, New Zealand Sports Hall of Fame, University of Otago
Official Dunedin website: www.dunediนnnz.com
Nelson
เมืองเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งศิลปะ วัฒนธรรม และความมีชีวิตชีวา ตลอดปีจะมีเทศกาลบันเทิงและกิจกรรมต่าง เช่น เทศกาลฤดูร้อน งานแฟร์ศิลปหัตถกรรม แข่งวิ่งมาราธอน เทศกาลดอกไม้และการแต่งสวน เทศกาลอาหารและไวน์ เป็นต้น นอกจากนี้ เนลสันยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาทิ ทะเลสาบ แม่น้ำ อุทยานแห่งชาติ และชายหาด
จุดท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ Abel Tasman National Park
Queenstown
ควีนสทาวน์ตั้งอยู่ริมทะเลสาบวาคาทีปู (Wakatipu) จึงมีวิวสวยของเทือกเขาสีฟ้ายอดเขาหิมะปกคลุมขาว สะท้อนเงาทะเลสาบให้ผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติได้ชื่นชมกัน ควีนสทาวน์เป็นเมืองแห่งความสนุกสนานและมีชีวิตชีวา มีกิจกรรมนานัปการให้ทำ ทั้งในบริเวณตัวเมือง และเมืองใกล้เคียง